ต้นทุนวัตถุดิบสูง

ต้นทุนวัตถุดิบสูง ปัญหาใหญ่เจ้าของร้านอาหาร หาทางออกอย่างไร ให้ลูกค้าไม่หนี

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาชวนกุมขมับของเจ้าของร้านอาหารเลยก็ว่าได้ ในเรื่องของ ต้นทุนวัตถุดิบสูง และมีแนวโน้มว่าจะมีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ซึ่เป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก ซึ่งเจ้าของร้านจะแก้ปัญหานี้อย่างไร โดยไม่ใช้วิธีขึ้นราคาจนลูกค้าหนี ลองมาดูทางออกเหล่านี้กัน ต้นทุนวัตถุดิบสูง เจ้าของร้านควรหาทางออกอย่างไร #ควรคาดการณ์ราคาวัตถุดิบให้ได้ หากคุณคิดจะเปิดร้าน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นลำดับต้น ๆ ก็คือ การกำหนดตัวเลขวัตถุดิบ ที่มักจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ตัวอย่างเช่น ควรวางแผนต้นทุนที่คาดว่าจะสูงขึ้นเฉลี่ยไว้ปีละ 5% หรือการคาดการณ์ล่วงหน้าของราคาวัตถุดิบ เช่น มะนาวจะแพงขึ้นช่วงเดือนเมษายนของทุกปี...
เทคนิคเพิ่มกำไรสำหรับร้านไซส์เล็ก

5 เทคนิคเพิ่มกำไรสำหรับร้านไซส์เล็ก ขนาดของร้านไม่ใช่ปัญหา

ขนาดของร้านไม่ใช่ปัญหา! 5 เทคนิคเพิ่มกำไรสำหรับร้านไซส์เล็ก หลายคนอาจมองว่า การเปิดร้านอาหารเล็ก ๆ อาจไม่สามารถทำกำไรได้มากนัก มีรายได้เพียงแค่อยู่รอดไปวัน ๆ เท่านั้น แต่แท้จริงแล้วรู้หรือไม่ว่า การเปิดร้านอาหารเล็ก ๆ ถ้าบริหารจัดการให้ดี คุณก็สามารถมีกำไรได้ไม่แพ้ร้านใหญ่เลย และนี่ก็คือ 5 เทคนิคเพิ่มกำไรสำหรับร้านไซส์เล็ก ค่อย ๆ ปรับตามนี้ก็โตได้ 1.เลือกทำเลให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เป็นร้านเล็กแต่อยู่ให้ถูกที่ถูกทาง ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย อยู่ในจุดที่มีความต้องการจริง ๆ ก็ถือว่ามีชัยไปมากกว่าครึ่งแล้ว ทำเลเป็นอันดับแรกที่คุณต้องเลือกให้ดี...
จัดการโครงสร้างต้นทุน

จัดการโครงสร้างต้นทุน สัดส่วนเท่าไหนถึงเรียกว่าปลอดภัย ?

จัดการโครงสร้างต้นทุน สัดส่วนเท่าไหนถึงเรียกว่าปลอดภัย ? เกลียดใครให้คนนั้นไปเปิดร้านอาหาร เพราะการทำร้านอาหารมีปัญหาทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ระบบหลังร้าน การบริการ วัตถุดิบขึ้นราคา และอีกมากมายสารพัดเรื่องปวดหัว ที่หากขาดการควบคุมโครงสร้างต้นทุนที่ดี อาจทำให้ร้านของเราเจ๊งก่อนเจ๋ง ฉะนั้นก่อนเริ่มทำร้านอาหาร เราจึงควรศึกษาโครงสร้างต้นทุนเสมือนเป็นการตรวจรักษาร่างกาย เมื่อมีต้นทุนส่วนไหนมากเกินไป จะช่วยให้เรารักษาสัดส่วนสวนที่เกินได้อย่างเท่าทัน ซึ่งโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารควรแบ่งสัดส่วนต้นทุนออกมาเป็นดังนี้   #ต้นทุนวัตถุดิบ (COGS) ไม่ควรเกิน 30 - 35% ต้นทุนวัตถุดิบ(COGS) หรือ Food costs ของร้านอาหารไม่ควรเกิน...
วิธีรับมือรีวิวด้านลบ

วิธีรับมือรีวิวด้านลบ คำคอมเพลนจากลูกค้าร้านอาหาร

การทำร้านอาหาร หรือธุรกิจบริการใดๆ ย่อมต้องมีทั้งคนที่ประทับใจ และคนที่ผิดหวังเป็นธรรมดา หากลูกค้ามาคอมเพลนต่อหน้า ก็ยังพอที่จะขอโทษ อธิบายและแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที แต่เมื่อไหร่ที่คำคอมเพลน หรือรีวิวด้านลบไปปรากฏอยู่บนโลกออนไลน์แล้วล่ะก็…รีวิวแย่ๆ เหล่านั้นก็พร้อมที่จะแพร่กระจาย และถูกส่งต่อไปอย่างรวดเร็ว และหากเจ้าของร้านมี วิธีรับมือรีวิวด้านลบ อย่างไม่เหมาะสม บรรดาลูกค้าที่เคยไม่พอใจบริการของคุณ ก็อาจรวมตัวกันขึ้นรถทัวร์มาถล่มที่หน้าเฟซบุ๊กเพจ หรือช่องทางโซเชียลอื่นๆ ของร้านของคุณ สุดท้ายอาจส่งผลให้ยอดขายลดลง ซึ่งเป็นฝันร้ายของเจ้าของร้านเลยก็ว่าได้ การจะหลีกหนีรีวิวไม่ดีหรือคำคอมเพลนจากลูกค้าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นทางที่ดี มาหาวิธีรับมือรีวิวด้านลบ เอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ กันดีกว่า...