เคล็ดลับการหุงข้าว แบบไม่ต้องแยกหม้อ สำหรับร้านอาหาร

การหุงข้าวอาจมองดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ แต่กับประเทศที่รับประทานข้าวเป็นอาหารหลักอย่างประเทศไทย เรื่องหุงข้าวเป็นอะไรที่เราไม่ควรมองข้ามเลย โดยเฉพาะสำหรับคนที่ทำร้านอาหาร หากคุณกำลังมองหาเคล็ดลับการหุงข้าว ที่ช่วยให้ประหยัดต้นทุน และประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลาแยกหม้อข้าว ในบทความนี้มี เคล็ดลับการหุงข้าว แบบ 2 in 1 มาฝาก ทำข้าวผัดก็ได้ ราดแกงก็อร่อย!

แม้ว่าเมนูอาหารในร้านของเราจะอร่อยมากแค่ไหน แต่หากข้าวแฉะหรือแข็งกระด้างเกินไป ก็อาจทำให้อาหารมื้อนั้นๆ ลดความอร่อยลงไปได้เลย และที่สำคัญคือ ลูกค้าย่อมจำได้ว่า ร้านไหนข้าวไม่อร่อย ส่งผลให้โอกาสไปอุดหนุนซ้ำลดน้อยลงไปด้วย อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่มีความสำคัญไม่น้อยเลย

ปัญหาข้าวแฉะ เมล็ดข้าวบาน ข้าวแข็งกระด้าง แตกหักไม่น่ากิน ถือเป็นปัญหาที่น่าปวดหัวของคนทำร้านอาหาร บางครั้งหุงข้าวให้สุกนุ่มกำลังดี เหมาะนำมาทำข้าวราดแล้ว แต่พอนำมาทำข้าวผัด เมล็ดข้าวกลับแฉะเละไม่น่ากิน เชื่อว่าร้านอาหารหลายๆ ร้านต้องเคยเจอปัญหาเหล่านี้

หลายๆ ร้านแก้ปัญหาด้วยการแยกหุงข้าว 2 หม้อ เพื่อใช้สำหรับทำเมนูข้าวผัดโดยเฉพาะ และหุงเพิ่มอีกหม้อ เพื่อใช้กับเมนูข้าวราด ทำให้ต้องเพิ่มเวลาในการเตรียม แถมยังเพิ่มอุปกรณ์ด้วย และถ้ากะปริมาณการขายในแต่ละวันไม่แม่นยำ ก็จะมีข้าวสวยเหลือค้างในทุกๆ วัน ทำให้ต้นทุนอาหารเพิ่มขึ้นโดยที่เราเองอาจจะไม่รู้ตัว

บทความนี้จึงนำ เคล็ดลับการหุงข้าว แบบง่ายๆ มาฝาก รับรองว่า อร่อยมัดใจลูกค้า ได้มาตรฐานทุกครั้งที่หุง ข้าวเรียงเมล็ดสวย จะนำไปราดแกงหรือทำข้าวผัดก็อร่อยจบครบในหม้อเดียว

เคล็ดลับการหุงข้าว แบบไม่ต้องแยกหม้อข้าว

1. รู้วิธีเลือกข้าวที่เหมาะ

เคล็ดลับการหุงข้าว

ก่อนอื่น เราจะต้องรู้วิธีการเลือกข้าวที่เหมาะจะนำมาหุง ซึ่งข้าวที่เหมาะจะนำมาหุงด้วยวิธีการนี้ คือ ข้าวหอมมะลิกลางปี เมล็ดข้าวสารจะต้องมีลักษณะขาวใส มันเงา เมล็ดยาวเรียวยาวเสมอกัน ไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น แกลบ หรือเศษหญ้าปะปน

2. ชั่งน้ำหนักข้าว

ชั่งน้ำหนักข้าวสารก่อนหุง

หลังจากที่เราได้ข้าวที่เหมาะสมแล้ว ก็นำข้าวมาชั่งน้ำหนัก ตามปริมาณมาตรฐานที่เราใช้

3. นำข้าวมาซาวผ่านน้ำ

ซาวข้าว

ต่อมาให้นำข้าวมาซาวน้ำ 1-2 ครั้ง

4. รินน้ำซาวข้าวออก

รินน้ำออกให้หมด หรือ พักข้าวบนกระชอนให้สะเด็ดน้ำ

รินน้ำออกให้หมด หรือ พักข้าวบนกระชอนให้สะเด็ดน้ำ

5. เติมน้ำลงไป 1.2 ส่วนของข้าว

เติมน้ำลงไป 1.2 ส่วน ของข้าว

ขั้นตอนต่อมา เติมน้ำลงไป 1.2 ส่วน ของข้าว ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราชั่งน้ำหนักข้าวสาร 1 กิโลกรัม หลังจากซาวข้าวแล้วให้เราเติมน้ำลงไป 1.2 กิโลกรัม ( 1200 กรัม)

ถ้าเราใช้ข้าวสารไม่ถึง 1 กิโลกรัม หรือมากกว่านั้น ให้นำน้ำหนักของข้าวสาร มาคูณด้วย 1.2 จะได้ปริมาณของน้ำที่ใช้ในการหุงให้ข้าวออกมาพอดี

6. กดหุงข้าว

กดหุงข้าวด้วยระบบอัตโนมัติตามปกติ รอจนหม้อหุงข้าวตัดไฟ

กดหุงข้าวด้วยระบบอัตโนมัติตามปกติ รอจนหม้อหุงข้าวตัดไฟ

7. คนข้าวเบาๆ กลับด้านบนด้านล่าง

กลับด้านข้าว

จากนั้นเปิดฝาหม้อออก คนข้าวเบาๆ กลับด้านบนด้านล่างให้ข้าวระอุทั่ว ปิดฝาหม้อไว้ประมาณ 3 นาที ก็มาสามารถนำมากิน หรือนำมาทำข้าวผัดได้ทันที

ส่วนถ้าร้านไหนมีข้าวที่ใช้เป็นประจำอยู่แล้ว ให้ทดลองหุงโดยเทียบสัดส่วนระหว่างข้าวกับน้ำ 1:1, 1:1.2, 1:1.3 เพื่อดูความเหมาะสมของเมล็ดข้าวแต่ละสายพันธุ์ เมื่อได้สัดส่วนที่เหมาะสมแล้ว ให้ยึดมาตรฐานสัดส่วนนี้ เพื่อกำหนดคุณภาพของข้าวสวยที่เราใช้ให้เหมือนกันทุกครั้ง

เชื่อว่า เคล็ดลับการหุงข้าว ทั้ง 7 ข้อที่นำมาฝากนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของร้านอาหาร เพียงแค่ลองปรับวิธีการหุงข้าวด้วยสัดส่วนที่เหมาะสม เพียงเท่านี้ก็จะได้เมล็ดข้าวที่เรียงสวย นุ่ม น่ากิน สามารถนำมาราดแกงหรือทำข้าวผัดได้จบครบในหม้อเดียว ช่วยประหยัดทั้งต้นทุนและพนักงาน ไม่สิ้นเปลืองเวลา ที่สำคัญวิธีนี้ยังช่วยลดของเหลือทิ้ง และง่ายต่อการจัดการระบบภายหลังร้านอีกด้วย

 

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร

Facebook : Torpenguin

Instargram : torpenguin

TikTok : @torpenguin

YouTube: Torpenguin

👉🏻 อ่านต่อบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วิธีทำของทอด ให้กรอบทน กรอบนาน อร่อย ทำง่าย ลดต้นทุน

แจก 6 สูตรน้ำสต๊อก ที่ต้องมีติดร้าน! สะดวกใช้ ทำง่าย เก็บได้นานเป็นเดือน

วิธีดับกลิ่นคาวปลา และหลักการเก็บให้คงความสดใหม่ ได้นานกว่า 10 วัน

วิธีทำหอมเจียว กระเทียมเจียว ให้สีสวย กรอบนาน เก็บได้ยาวเป็นเดือน

วิธีเก็บอาหารทะเล ให้สดนานกว่า 15 วัน ต้นทุนไม่บานปลาย

เคล็ดลับ นับสต๊อกร้านอาหาร และจัดการวัตถุดิบ ทำเป็นเห็นกำไร

ทำความรู้จัก QSC ร้านอาหาร ระบบประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารควรมี

เช็กลิสต์ แนวโน้มธุรกิจอาหาร ของคุณยังมีอนาคตไหม