ห้องน้ำร้านอาหาร

เจ้าของร้านอาหารหลายคน เวลาทำร้านอาหารก็คงจะโฟกัสไปที่หลายสิ่งไม่ว่าจะเป็น การวางแผนเรื่องตกแต่งร้าน การซื้อวัตถุดิบ การตลาดร้าน ทำยังไงให้ได้กำไร แต่จะบอกว่ามีอีกหนึ่งจุดที่อยากให้คนทำธุรกิจร้านอาหารทุกคนใส่ใจมาก ๆ ก็คือ เรื่องของสุขลักษณะ ความสะอาด ปลอดภัยของ ห้องน้ำในร้านอาหาร นั่นเอง ซึ่งหลายคนมองข้ามจุดนี้ แต่จะบอกว่า หลายร้านตกม้าตาย เพราะแค่เรื่องห้องน้ำก็มีมาแล้ว อาหารอร่อยแค่ไหน แต่ห้องน้ำแย่มาก ร้านคุณก็อาจจะถูกรีวิวในแง่ลบได้เลย และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ กฎกระทรวงฯก็มีชี้แจงอย่างละเอียดเลยว่า ห้องน้ำร้านอาหาร ที่ถูกต้อง ถูกสุขลักษณะควรเป็นอย่างไร ซึ่งเรานำข้อมูลทั้งหมดนี้มาจาก คู่มือการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” ตามบทพระราชบัญัติของกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561

รายละเอียดกฎกระทรวงฯ
ห้องน้ำร้านอาหาร ที่ถูกต้องควรเป็นยังไง

>> กฎกระทรวงฯ เกี่ยวกับห้องน้ำร้านอาหาร สถานที่จำหน่ายอาหาร ต้องมีการจัดการเกี่ยวกับส้วม ดังต่อไปนี้

(1) ต้องจัดให้มีห้องส้วมที่มีสภาพดี พร้อมใช้งาน มีน้ำใช้ตลอดเวลาที่ให้บริการ และมีจำนวนเพียงพอสำหรับให้บริการในสถานที่จำหน่ายอาหาร ตามอัตราส่วนดังนี้

> ที่นั่งลูกค้า น้อยกว่า 20 ที่นั่ง >> ให้มีห้องถ่ายอุจจาระ 1 ที่ / อ่างล้างมือ 1 ที่

> จำนวนที่นั่งลูกค้า 20 – 30 ที่นั่ง >> ให้มีห้องถ่ายอุจจาระ 1 ที่ / อ่างล้างมือ 1 ที่ / ที่ปัสสาวะ 1 ที่

> จำนวนที่นั่งลูกค้า 31 – 50 ที่นั่ง
ห้องน้ำชาย >> ห้องอุจจาระ 1 ที่ / อ่างล้างมือ 1 ที่ / ที่ปัสสาวะ 1 ที่
ห้องน้ำหญิง >> ห้องอุจจาระ 1 ที่ / อ่างล้างมือ 1 ที่

> จำนวนที่นั่งลูกค้า 51 – 70 ที่นั่ง
ห้องน้ำชาย >> ห้องอุจจาระ 2 ที่ / อ่างล้างมือ 2 ที่ / ที่ปัสสาวะ 2 ที่
ห้องน้ำหญิง >> ห้องอุจจาระ 4 ที่ / อ่างล้างมือ 2 ที่

> จำนวนที่นั่งลูกค้า 71 – 100 ที่นั่ง
ห้องน้ำชาย >> ห้องอุจจาระ 3 ที่ / อ่างล้างมือ 3 ที่ / ที่ปัสสาวะ 3 ที่
ห้องน้ำหญิง >> ห้องอุจจาระ 6 ที่ / อ่างล้างมือ 3 ที่

กรณีเกิน 100 ที่นั่ง ให้เพิ่มห้องส้วม อ่างล้างมือ และที่ปัสสาวะ อย่างละ 1 ที่ (จากจำนวนที่นั่งสำหรับลูกค้า 71 – 100 ที่นั่ง) ทั้งห้องส้วมชายและหญิง ต่อจำนวนที่นั่ง สำหรับที่นั่งที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 30 ที่นั่ง

(2) ห้องส้วมต้องมีพื้นระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง ไม่มีคราบสกปรก มีการระบายอาการที่ดี
ไม่มีกลิ่นเหม็น มีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ห้อง หรือมีพัดลมระบายอากาศอย่างเหมาะสม หรือสามารถติดตั้งพัดลมหรืออุปกรณ์อื่นช่วยให้พื้นห้องน้ำในส้วมแห้ง ลดภาระการต้องมาคอยเช็ดพื้นเปียก

ควรจะต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอ ซึ่งโดยประมาณคือ ควรมีค่าความเข้มแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 ลักซ์ (LUX)

(3) มีอ่างล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ และมีอุปกรณ์ล้างมือจำนวนเพียงพอ
– อ้างล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ คือ ต้องสะอาด ใช้การได้ดี ไม่มีคราบสกปรก
– มีอุปกรณ์สำหรับล้างมือ เช่น สบู่ น้ำยาล้างมือ กระดาษเช็ดมือ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยให้มือแห้ง และควรมีจำนวนเพียงพอ ทั้งนี้เพื่อลูกค้าได้ล้างมืออย่างถูกสุขลักษณะ เป็นการป้องกันการปนเปื้อนสิ่งปฏิกูลหลังจากใช้ห้องส้วมเสร็จนั่นเอง

(4) ห้องส้วมต้องแยกเป็นสัดส่วน โดยเวลาเปิดประตูห้องน้ำมาต้องไม่ตรงสู่บริเวณที่เตรียมประกอบอาหารโดยตรง ที่เก็บ ที่บริโภค ที่ล้าง หรือที่เก็บภาชนะ หรือเลี่ยงไม่ได้ก็ควรจะมีฉากปิดกั้น ประตู หรือมู่ลี่ตามที่เหมาะสม และต้องปิดประตูห้องน้ำตลอดเวลา ไม่ควรเปิดทิ้งไว้ เป็นการป้องกันสิ่งสกปรก เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคต่าง ๆ ปนเปื้อนมาสู่อาหาร ภาชนะ และอุปกรณ์ในร้าน

เชื่อเถอะว่าถ้าคุณใส่ใจคอยดูแล ห้องน้ำร้านอาหาร ให้สะอาดด้วย หรือตกแต่งให้สวยงาม เพิ่มความหอมเข้าไปอีกหน่อย แม้จะเป็นจุดเล็ก ๆ แต่รับรองว่าลูกค้าสัมผัสได้ถึงความใส่ใจและประทับใจร้านคุณแน่นอน

ที่มา กรมอนามัย

 

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

👉 อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
7 วันก่อนเปิดร้าน แชร์เทคนิค เทรนพนักงานครัว ให้เป๊ะ เป็นงานไว
ร้านอาหารต้องรู้ บาลานซ์เมนู ร้านอาหาร ให้ดี เสิร์ฟได้ไว ไม่ติดขัด
สารพัด กลโกงในร้านอาหาร ปัญหายอดฮิตที่เจ้าของร้านอาจต้องเจอ
น้ำเต้าหู้ปูปลา ร้านน้ำเต้าหู้แนวใหม่ ส่งมอบความสุขในความทรงจำแบบครบเครื่อง
Yield คืออะไร สำคัญแค่ไหน เรื่องต้องรู้ก่อนตั้งราคาอาหาร
กฎหมาย PDPA ร้านอาหาร ที่ผู้ประกอบการต้องรู้
เคล็ดลับ นับสต๊อกร้านอาหาร และจัดการวัตถุดิบ ทำเป็นเห็นกำไร
สร้างเมนูใหม่กำไรเข้าร้าน ด้วยไอเดีย จัดการ Food Waste สไตล์ตะวันตก
รวมสารพัดวิธีแก้ ปัญหาลูกค้าแน่นร้าน จัดการดีไม่มีสะดุด
รับช่วงต่อกิจการ อย่างไรไม่ให้เจ๊ง!
เทคนิคเก็บ เซอร์วิสชาร์จร้านอาหาร ทำอย่างไรให้ลูกค้าพอใจที่ต้องจ่าย
ข้อดีและข้อเสียของการทำ เมนู QR CODE หรือ เมนูอาหารออนไลน์