สื่อสารข้ามเจน

การ สื่อสารข้ามเจน กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผุดขึ้นมามากขึ้นเรื่อย ๆ

ขนาดเวลาที่เราไปเที่ยวต่างประเทศ เราก็ยังต้องทำการบ้านก่อนเลยว่าเราควรสื่อสารกับคนท้องถิ่นยังไง เขาใช้ภาษายังไง มีประเด็นละเอียดอ่อนอะไรที่เราจะต้องระวัง

ในการทำงานก็เช่นกันการจะสื่อสารกับคนแต่ละวัยที่ Gap อายุมีความต่างกัน ก็ย่อมมีเรื่องบางอย่างที่แตะไม่ได้ เรื่องบางอย่างที่สามารถพูดได้โดยไม่เกิดความขัดแย้ง

ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าใครผิดใครถูก แต่อยู่ที่ว่าเราพอเข้าใจหรือเปล่า ถ้าคนอีกรุ่นไม่ได้คิดเหมือนกับเรา

 

นี่คือ หลัก 4E ที่เอาไว้ใช้เตือนสติเวลาต้อง สื่อสารข้ามเจน ที่เป็นเจ้าของธุรกิจควรเรียนรู้ไว้

 

#Empathy ความเอาใจเขามาใส่ใจเรา

เตือนเราไม่ให้ลืมว่า อาจเติบโตมาในโลกที่ไม่เหมือนกัน พนักงานในแต่ละรุ่นเขาโตมาในยุคที่บริบทของสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน

นั่นจึงทำให้คนแต่ละเจนไม่เหมือนกัน ทั้งทัศนคติและประสบการณ์ที่ต้องเจอ ความกลัว หรือสิ่งที่เชื่อมั่น

เราต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน อย่ามานั่งโกรธโมโหว่าทำไมเด็กสมัยนี้ถึงเป็นอย่างงั้นอย่างงี้ ผู้ใหญ่คนนั้นทำไมถึงเป็นอย่างงั้นอย่างงี้

 

#Equality ความเท่าเทียมกัน

เตือนเราไม่ให้ลืมว่าคนคิดต่างไม่ได้แปลว่าด้อยกว่าหรือรู้น้อยกว่า เพราะไม่มีใคร อยากถูกทำเหมือนว่าเขาเป็นเด็กน้อยที่ไม่เคยอาบน้ำร้อน และไม่มีใครอยากถูกมองเป็นไดโนเสาร์ตกยุค

ทุกคนอยากได้ฐานะที่เท่าเทียมในการสนทนากันอย่างเปิดใจ

 

#Expression การแสดงออก

เตือนใจเราว่า บางครั้งวิธีการสื่อสารและถ้อยคำที่ใช้ อาจสำคัญกว่าตัวข้อความซะอีก คนแต่ละรุ่นอาจมีรูปแบบการสื่อสารที่แตกต่างกัน

เช่น คนบางรุ่นอาจมองว่าหากมีปัญหา ความไม่พอใจ ไม่เห็นด้วย วิธีการสื่อสารที่ดีคือ มาคุยกันแบบส่วนตัวก่อน ดีกว่าแสดงออกมาในที่ประชุมที่มีคนจำนวนมากหรือผ่านโซเชียล

ขณะที่บางคนอาจมองว่า การสื่อสารประเด็นเหล่านี้ในที่ที่มีคนอื่นอยู่ด้วย อาจโปร่งใสกว่าและเป็นเรื่องปกติ

นอกจากนี้ วิธีพูด ถ้อยคำ และศัพท์ที่ใช้ แม้จะเป็นภาษาไทยเหมือนกันก็ให้ผลไม่เหมือนกัน โดยแต่ละรุ่นอาจจะมีถ้อยคำที่ “ถูกใจ” และคำที่ทำให้ “ผิดใจ” (trigger word) แตกต่างกันมาก

บางครั้งการเรียนรู้ “ภาษา” ของคนต่างรุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ

 

#Ecosystem การเข้าใจระบบ

เตือนสติให้เราไม่ยึดติดกับตัวบุคคลมากเกินไป เพราะบ่อยครั้งความขัดแย้งเกิด จากการที่คนโฟกัสการถกเถียงกันที่ตัวบุคคล

เช่น ฝั่งหนึ่งอาจไม่พอใจและรู้สึกว่าเราไปโจมตีคนที่เขาชื่นชม ทั้งที่จริงๆ หากถอยมาคุยกันเรื่องปัญหาระดับระบบขององค์กรหรือสังคมนั้นๆ อาจเห็นตรงกันก็ได้

 

หลัก 4E ที่ใช้เวลาที่เราต้องทำงานกับคนต่างรุ่นนี้อาจไม่ได้สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ขนาดนั้น แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ให้เรามีสติขึ้นเวลาสื่อสารกับคนต่างรุ่น

 

เปลี่ยนจากความอยากบังคับให้อีกฝ่ายเหมือนเราโดยไม่รู้ตัว

ไปเป็นการเริ่มจากการยอมรับว่า “ไม่แปลกเลยถ้าเราจะต่าง”

และ “ไม่เห็นเป็นไรเลย หากเขาจะไม่เหมือนกัน”

 

เมื่อเราพร้อมเคารพในความต่าง อาจทำให้ค้นพบ “ความเหมือน” ในหลายๆ มิติเรามองไม่เห็นมันในตอนแรก

กลายเป็นว่า “การบังคับให้เหมือน กลับยิ่งทำให้ห่าง”

ขณะที่ “การยอมรับความต่าง กลับทำให้ค้นพบความเหมือน” ก็เป็นได้

 

Source: หนังสือ Twists and Turns คิดเปลี่ยนในโลกหักมุม

 

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin

📌 อ่านต่อบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทำให้พนักงานเก่ายอมเปิดใจให้กับการวางระบบใหม่ ที่เรากำลังสร้าง ทำยังไง?
ติยังไงให้ได้งาน และไม่ทำร้ายจิตใจลูกน้อง
วิธีหาจำนวนพนักงาน ที่เหมาะสม ร้านเราควรมีกี่คนถึงจะพอดี
พนักงานหมดไฟ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน เจ้าของร้านทำยังไงได้บ้าง
วิธีคิดค่าจ้างพนักงานร้านอาหาร จ่ายเท่าไหร่ถึงเหมาะสม
คุณสมบัติสำคัญ 7 ข้อ ที่ ผู้จัดการร้านอาหาร ควรมี
วิธีจัดการ Front of House (หน้าร้านอาหาร) ที่เจ้าของร้านอาหารควรรู้
เทรนพนักงานต้อนรับ ให้เป๊ะ ต้อนรับลูกค้าอย่างไร ให้ประทับใจตั้งแต่เข้าร้าน
เจ้าของร้านควรแก้ปัญหาอย่างไร เมื่อพนักงานไม่ยอมรับ เทคโนโลยีร้านอาหาร