จุดตายเรื่อง ‘เงิน’ ที่ทำให้หลายธุรกิจเจ๊งมานักต่อนัก
จุดตายธุรกิจร้านอาหาร เรื่อง 'เงิน' ที่ทำให้หลายธุรกิจเจ๊งมานักต่อนัก
หลายธุรกิจ โดยเฉพาะร้านอาหาร ต้องพบกับอุปสรรคจากการบริหารการเงินที่ไม่ดี และกลายเป็นจุดตายที่ทำให้ธุรกิจล้มเหลวอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่เจ้าของธุรกิจต้องให้ความสำคัญ บทความนี้จะพาคุณไปดู ปัญหาทางการเงินร้านอาหาร ที่หลายคนปล่อยไว้จนลืม เช็กเลยก่อนที่มันจะทำให้ธุรกิจเราเจ๊งโดยไม่รู้ตัว
#ไม่แยกเงินที่ทำธุรกิจออกจากเงินส่วนตัว
คิดว่ากำไร หรือรายได้ของธุรกิจ เป็นเงินของตัวเอง พอจะใช้จ่ายอะไรส่วนตัวก็หยิบเงินจากในเก๊ะออกมาใช้ หรือบางครั้งต้องไปซื้อของอะไรเข้าร้านแทนที่จะใช้เงินของร้านกลับควักเงินของตัวเองไปซื้อแล้วก็ไม่ได้ทำการเบิกเงินร้านกลับมา
เหล่านี้ทำให้สุดท้ายเราจะไม่รู้ว่า ตกลงแล้วร้านเรามีกำไรหรือขาดทุนต่อเดือนเท่าไหร่กันแน่
สิ่งที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ก็คือการแยกเงินของร้านกับเงินส่วนตัวออกจากกัน แบบต้องชัดเจนไปเลยนะครับ โดยการกำหนดเงินเดือนให้กับตัวเราเองและทำการจ่ายสิ้นเดือนเหมือนกับพนักงานทั่วไป
และเรามีหน้าที่บริหารค่าใช้จ่ายของเราไม่ให้เกินเงินเดือนที่เราตั้งใจ เท่านี้ก็จะทำให้ไม่ต้องมานั่งปวดหัวเรื่องเงินร้านหรือเงินเราอีกต่อไป
#ไม่เข้าใจระบบภาษี
ไม่ว่าเราจะเกลียดตัวเลขขนาดไหนก็ตาม นี่เป็นยาขมที่เราต้องดื่มค่ะ ใครที่กำลังคิดจะเปิดร้านอาหารหาความรู้เรื่องเหล่านี้ไว้คร่าว ๆ เลย
ไม่ว่าจะเป็น...
มัดรวม ปัญหาการเงิน ที่ร้านอาหารเจอแล้วเสี่ยงเจ๊ง รู้แล้ว รีบแก้ด่วน
ร้านอาหารหลายร้าน ต่อให้ขายดิบขายดี มีลูกค้าเข้าร้านไม่หยุด จนเจ้าของร้านแทบไม่ได้นั่งพัก แต่สุดท้ายกลับขาดทุนและปิดตัวลงไปอย่างไม่น่าเชื่อ…ปัญหาอันดับต้นๆ ที่ทำให้ร้านอาหารเจ๊ง แม้ว่าจะขายดี ล้วนมาจาก ปัญหาการเงิน ซึ่งเจ้าของร้านมักจะมองข้าม เพราะคิดไม่ถนัด หรือไม่ได้ให้ความสำคัญมากเพียงพอ
บทความนี้รวบรวม ปัญหาการเงิน ที่ร้านอาหารเจอแล้วเสี่ยงเจ๊งมาฝาก อยากชวนเจ้าของร้านอาหารทุกคนมาเช็กตัวเองดูว่า มีข้อไหนที่ตรงกับตัวเองบ้าง เพื่อที่จะได้ป้องกันก่อนจะสายเกินไป
1. โฟกัสรายรับ แต่ลืมจดบันทึกรายจ่าย
แม้บางคนจะจดบันทึกรายรับไว้แล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่า ทำไมเงินที่คงเหลือจริงไม่ตรงกับยอดในบัญชี สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเป็นเพราะเจ้าของร้านไม่ได้จดบันทึกรายจ่ายอย่างละเอียด โดยเฉพาะรายจ่ายจิปาถะที่เกิดขึ้นระหว่างวัน บิลภาษี...
ทำร้านแบบไหนจ่ายภาษีน้อยกว่า กัน ? นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา
ทำร้านแบบไหนจ่ายภาษีน้อยกว่า กัน ? นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา
ทำร้านแบบไหนจ่ายภาษีน้อยกว่า นี่ถือเป็นประเด็นแรก ๆ เลยครับ สำหรับใครที่จะก้าวขาเข้าสู่วงการผู้ประกอบการอย่างเต็มตัว ที่ยังคิดไม่ตกว่าจะเอาไงดี จดแบบไหนดี
หลายคนคงคิดว่า ทำร้านแบบบุคคลธรรมดาก็ต้องจ่ายภาษีน้อยกว่าสิ ใช่มั้ยคะ คำพูดนี้คงไม่ผิด ถ้าที่ผ่านมาหรือตอนนี้คุณเปิดร้านอยู่แล้วไม่เคยยื่นเสียภาษีเลย แต่นั่นหมายถึงว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงในการโดยเรียกเก็บภาษีย้อนหลังพร้อมค่าปรับอีกมโหฬาร ถึงขนาดที่อาจต้องปิดร้านไปเลยก็ได้
หรือบางคนอาจจะบอกว่าตอนนี้ยังไม่จดบริษัทแต่ก็เสียภาษีแบบเหมาจ่ายกับสรรพากรอยู่ ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้คุณจะไม่สามารถทำได้แล้วเพราะทางภาครัฐต้องการให้ผู้ประกอบทั้งหลายเข้ามาในระบบให้ถูกต้องทั้งหมด
ซึ่งถ้าเมื่อไหร่คุณต้องการทำร้านให้เป็นระบบและเสียภาษีให้ถูกต้องแล้วนั้น ตอบสั้น ๆ ตรงนี้เลยว่าทำร้านแบบนิติบุคคลจ่ายภาษีคุ้มกว่าแบบบุคคลธรรมดามาก
เวลาคุณทำร้านอาหารแบบบุคคลธรรมดารายได้จากการทำร้านอาหารจะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาและจะเสียภาษีตามขั้นบันไดของบุคคล เหมือนเวลาคุณทำงานประจำแล้วต้องจ่ายภาษี คุณรายได้มากก็จะเสียมาก...
วิธีง่ายๆ ใน การทำงบกำไรขาดทุน (P&L) สำหรับร้านอาหาร
การทำธุรกิจร้านอาหาร เป็นเรื่องที่ไม่สามารถใช้ความรู้สึกคาดเดาได้เลย บางครั้งเราอาจเห็นลูกค้าแน่นร้าน ออร์เดอร์เข้ารัวแบบไม่พัก เลย “คิดเอาเอง” ว่า ร้านของเราต้องได้กำไรเยอะแน่ๆ จึงเตรียมลงเงินไปกับสาขาใหม่ หรือปรับปรุงร้านเพิ่มเติม แต่อยู่มาวันหนึ่งร้านของเรากลับต้องปิดตัวลง เพราะไปต่อไม่ไหว และเพิ่งมารู้ตัวเอาทีหลัง ในวันที่สายไปเสียแล้วว่า ที่ร้านขายดีมาตลอดนั้น แทบไม่มีกำไรเลย...เหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ กับร้านที่ไม่ยอมให้ความสำคัญกับ การทำงบกำไรขาดทุน
แม้ว่า การทำงบกำไรขาดทุน จะเป็นเรื่องที่ดูยุ่งยาก มีแต่ตัวเลขมากมาย ชวนปวดหัว แต่ก็เป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารจำเป็นต้องทำอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะงบกำไรขาดทุน...
ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ภัยเงียบที่ทำให้ร้านเราเจ๊งได้
ต้นทุนแฝงร้านอาหาร ภัยเงียบที่ทำให้ร้านเราเจ๊งได้ มาลองสำรวจดูกันว่าร้านเรากำลังเจอกับข้อไหนบ้าง
ต้นทุนแฝง (Hidden cost) ถือเป็นภัยเงียบของการทำธุรกิจร้านอาหารเลยก็ว่าได้ หลาย ๆ ร้านไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือมีแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนแฝงที่จริงจังมากพอ
รู้ตัวอีกทีก็ขาดทุนติดต่อกันหลายเดือนทีเดียว รายจ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องจ่ายไปแม้เป็นมูลค่าที่อาจจะดูไม่เยอะในหนึ่งครั้ง แต่ลองนำมารวมๆ กันดู คุณอาจจะคาดไม่ถึงเลยด้วยซ้ำว่าทำไมมันงอกมาขนาดนี้
มาลองสำรวจดูกันครับว่าร้านเรามีข้อไหนบ้าง เมื่อเช็กดูแล้วเบื้องต้นสิ่งที่เราควรหันมาใส่ใจและแก้ไขเรื่องนี้เลยก็คือ วางระบบให้รัดกุม จัดระเบียบสต็อกสินค้าของเราให้ดี วางแผนการสั่งวัตถุดิบต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ และตรวจสอบต้นทุนต่างๆของร้านเราอยู่สม่ำเสมอ
เงินเดือน
เป็นหนึ่งในต้นทุนแฝงที่พบบ่อย โดยเฉพาะในร้านที่ไม่ได้ใหญ่มาก นั่นคือการลืมคิดเงินเดือนตัวเอง...
สูตรวิเคราะห์ จุดคุ้มทุน สำหรับร้านอาหาร รู้ไว้ ไม่มีขาดทุน
แม้ว่าร้านของเราจะมีลูกค้าเข้ามาตลอดทั้งวัน แต่ก็ไม่ได้แปลว่า จะทำกำไรได้เสมอไป ดูจากตัวอย่างหลายๆ ร้าน ดูเผินๆ เหมือนขายดี แต่สุดท้ายก็ปิดร้านไปอย่างน่าเสียดาย เพราะรายรับที่ได้มานั้นไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป...การวิเคราะห์ จุดคุ้มทุน ถือเป็นขั้นตอนสำคัญของการทำร้านอาหาร เพราะจะช่วยให้รู้ว่า ร้านของเราต้องทำยอดขายให้ได้เท่าไหร่ จึงจะไม่ขาดทุน จะต้องขายไปจนถึงเมื่อไหร่ ถึงจะคืนทุน
บทความนี้จะพาเจ้าของร้านอาหารมาทำความเข้าใจเรื่อง จุดคุ้มทุน แบบง่ายๆ พร้อม สูตรวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เพื่อให้คุณประเมินสถานการณ์ของร้านอาหารได้แบบไม่มีพลาด
จุดคุ้มทุนร้านอาหารคืออะไร?
จุดคุ้มทุน หรือ Break-Even Point...
วิธีบริหารต้นทุน (Cost Control) สำหรับร้านอาหาร แบบเข้าใจง่าย
แม้ว่าเรื่องการเงินและบัญชี จะเป็นเรื่องยากสำหรับเจ้าของร้านอาหาร แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่สามารถหลีกหนีได้ เจ้าของร้านอาหารควรคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ ของร้านให้เป็น และรู้จัก วิธีบริหารต้นทุน (Cost Control) เพื่อที่จะได้รู้ว่า อัตราส่วนระหว่างต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อยอดขายของร้านเราเป็นเท่าไหร่
เจ้าของร้านอาหารที่ไม่ได้คำนวณต้นทุนอย่างละเอียด จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ร้านของเรามีกำไรที่แท้จริงเท่าไหร่ แม้รายได้จะเข้ามาเยอะ แต่ก็ไม่ได้แปลว่า ธุรกิจของเรามีกำไรเยอะเสมอไป เพราะรายได้เหล่านั้น ยังไม่ได้หักลบกับต้นทุนต่างๆ ภายในร้าน นี่เองคือสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้หลายร้านขาดทุนแบบไม่รู้ตัว...ด้วยเหตุนี้เจ้าของร้านอาหารจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจ วิธีบริหารต้นทุน ให้ดีเ
รู้จักต้นทุนที่ควบคุมได้ &...
รู้จัก COGS ต้นทุนก้อนใหญ่ที่สุดของคนทำร้านอาหาร ร้านเจ๊งไม่เจ๊ง ดูกันตรงนี้
COGS คืออะไร ทำความรู้จักต้นทุนก้อนใหญ่ที่สุดของคนทำร้านอาหาร ร้านเจ๊งไม่เจ๊ง ดูกันตรงนี้
ถ้าคุณจะทำร้านอาหาร ไม่ว่าจะสเกลเล็กหรือสเกลใหญ่ หนึ่งในเรื่องที่ต้องเข้าใจให้ลึก ๆ หน่อยก็คือ COGS (Cost of Goods Sold) เพราะนี่คือเงินก้อนใหญ่ที่สุดในการทำร้านอาหาร เรียกได้ว่ากินสัดส่วนต้นทุนหลักแทบจะทั้งหมด และใช่ค่ะ มันเป็นตัวแปรสำคัญที่จะเป็นตัวตัดสินได้เลยว่าร้านจะกำไรดี หรือไปไม่รอด
หลายร้านเจ๊งโดยที่ไม่รู้ตัวเพราะไม่ได้คำนวณสิ่งนี้อย่างถูกต้อง บางคนคิดแค่ว่า "ขายดี = กำไรดี" แต่ในความเป็นจริง...
6 ข้อควรระวัง ถ้าไม่อยาก ขายดีจนเจ๊ง
ถ้าพูดว่า “ขายดี” ใครๆ ก็มักจะคิดว่า ร้านนี้คงได้กำไรถล่มทลาย และรวยแบบไม่รู้เรื่อง แต่ความจริงแล้ว ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป มีร้านอาหารหลายร้านที่ขายดิบขายดี ลูกค้าเข้าเยอะ จนต้องต่อคิว แต่สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการไปอย่างไม่น่าเชื่อ หรือที่เรียกกันว่า “ ขายดีจนเจ๊ง ” นั่นเอง
ถ้าคุณไม่อยากตกอยู่ในสถานการณ์ ขายดีจนเจ๊ง รีบเช็กตัวเองด่วนเลยว่า ร้านอาหารของคุณเข้าข่าย 6 ข้อนี้หรือไม่ ยิ่งรู้เร็ว ก็ยิ่งได้เปรียบ...
กำไรเยอะ ก็เจ๊งได้ นะ 5 ทริคง่าย ๆ ในบริหารกระแสเงินสดให้คล่องสำหรับเจ้าของร้านอาหาร
กำไรเยอะ ก็เจ๊งได้ นะ แนะนำ 5 ทริคง่าย ๆ ในบริหารกระแสเงินสดธุรกิจให้คล่องสำหรับเจ้าของร้านอาหาร
การบริหารกระแสเงินสดถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการทำธุรกิจ เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่เรียกว่าเป็นตัวชี้วัดความอยู่รอดให้กับธุรกิจเลยก็ว่าได้
สำหรับธุรกิจอาหาร การบริหารกระแสเงินสดให้คล่องนั้นจำเป็นมาก ซึ่งก็ได้มีตัวอย่างของร้านอาหารหลาย ๆ ร้านที่ต้องล้มอย่างกะทันหัน แม้ว่าจะดูเป็นร้านที่ขายดี และมีลูกค้าเข้าเยอะก็ตาม ถึง กำไรเยอะ ก็เจ๊งได้ เหมือนกัน เนื่องจากการบริหารเงินที่ไม่ดี เพราะงั้นหากเราไม่รู้จักวิธีบริหารกระแสเงินสดให้คล่อง คำว่า 'เจ๊ง' ก็ใกล้นิดเดียว
วันนี้ผมจะมาแนะนำ...