วิธีดูวันหมดอายุของซอส

วิธีดูวันหมดอายุของซอส เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารของเราหมดอายุแล้ว

การแข่งขันในด้านธุรกิจร้านอาหารที่มีสูงขึ้นในทุก ๆ วัน หลายๆร้านจึงปรับตัวและหาจุดเด่นที่ไม่เหมือนและไม่ซ้ำใคร  เพื่อทำให้เมนูอาหารของเรามีความเฉพาะและไม่สามารถเลียนแบบได้  นอกจากนี้ในร้านที่มีครัวกลาง และกระจายสินค้าไม่ยังสาขาต่างๆ มักจะมีส่วนผสมของซอสและเครื่องปรุงที่เป็นสูตรเฉพาะ ซึ่งนอกจากจะเป็นการป้องกันคัดลอกสูตรของพนักงานแล้ว  ยังช่วยประหยัดเวลาและทำให้สะดวกและรวดเร็วเวลาปรุงอาหารที่หน้าร้านด้วยเช่นกัน

 

แล้วเคยสงสัยไหมว่าซอสหรืออาหารที่เราทำออกมาไม่ว่าจะเป็น  ซอสผัดต่าง ๆ  น้ำยำ น้ำปรุง ที่ร้านเราทำขึ้นมาเอง  มีระยะเวลาในการเก็บได้นานกี่วัน กี่เดือน และ วิธีดูวันหมดอายุของซอส เราจะต้องใช้วิธีอะไรในการประเมินวันหมดอายุของอาหารหรือสินค้ากันล่ะ

 

วันหมดอายุหรืออายุการเก็บรักษา (Shelf life) ของอาหาร คือช่วงเวลาที่อาหารยังคงคุณภาพในเรื่องของ สี กลิ่น รสชาติ และเนื้อสัมผัส ซึ่งยังเป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งนอกเหนือจากนี้อาหารยังต้องคงคุณค่าทางโภชนาการ มีปริมาณจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่ปลอดภัยในการบริโภคนั่นเอง

 

โดยปกติในเรื่องปริมาณจุลินทรีย์ แบคทีเรีย ความชื้นและความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมในการบริโภคนั้น จะต้องใช้เครื่องมือทางวิทยาศาตร์เข้ามาช่วย โดยการนำสินค้าส่งเข้าแล็บเพื่อวิเคราะห์อายุของสินค้า  นั่นหมายถึงต้องมีค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าเพื่อตรวจวิเคราะห์นั่นเอง

 

แต่ถ้าเราเป็นผู้ประกอบการรายย่อย หรือเป็นร้านอาหารทั่วไป เราก็สามารถหา Shelf life ของอาหารได้ด้วยวิธีง่ายๆ  โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างสินค้า  ในภาชนะและอุณภูมิที่จะทำการเก็บรักษาสินค้านั้นจริง ๆ  เช่น บรรจุใส่ขวดแก้ว,บรรจุใส่ขวดพลาสติก,บรรจุใส่ซองพลาสติกที่ซีลปิดสนิท ฯลฯ  แล้ววางไว้ที่อุณหภูมิห้องป้องกันไม่ให้โดนแดด หรือ เก็บในตู้แช่เย็น (อุณหภูมิที่เรากำหนด)

 

ซึ่งถ้าเราประเมินว่าสินค้าของเราจะเก็บได้เป็นระยะเวลา 3 เดือน  นั่นหมายถึงเราจะต้องเตรียมตัวอย่างสินค้าไว้จำนวน 70-80 ชุด

 

ในช่วงแรกจะต้องทำการสุ่มตรวจทุก 1 สัปดาห์   เพื่อดูสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส  ****ทดสอบชิมและบันทึกผลการชิมโดยละเอียด  ( ถุงหรือขวดที่เปิดชิมแล้วไม่ต้องนำกลับมาเก็บต่อเพราะมีการปนเปื้อนแล้ว)

 

พอเลยช่วง 6  สัปดาห์เป็นต้นไป จะต้องเพิ่มความถี่ในการสุ่มตรวจให้มากยิ่งขึ้น เป็นทุก 2-3 วัน  เพราะด้วยระยะเวลาที่นาน   อาหารที่เราเก็บตัวอย่างจะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางเคมีไวยิ่งขึ้น เมื่อเริ่มพบว่าสินค้าของเรามีสี ,กลิ่น, รสชาติและเนื้อสัมผัส เปลี่ยนไปจนเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน  หมายถึงว่าสินค้าของเราหมดอายุแล้วไม่เหมาะที่จะนำมารับประทานหรือนำมาเป็นส่วนผสมในอาหารต่างๆเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

 

วิธีนี้เหมาะที่จะนำไปใช้กับร้านที่มีการเตรียมวัตถุดิบ จำพวกซอส  น้ำยำ  น้ำปรุง ผงปรุง ต่าง ๆ แบบสำเร็จรูป ก่อนส่งไปที่หน้าร้าน หรือสาขาต่างๆ เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่าซอสหรือสินค้าของเรายังคงคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามที่ร้านของเรากำหนดนั่นเอง

 

📌 ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร

Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : @torpenguin
YouTube: Torpenguin

👉🏻 อ่านบทความ Cookวงใน อะไรต่อดี?

เทคนิคผัดเส้นใหญ่ สำหรับร้านอาหาร ให้ดูเหนียวนุ่มน่ากิน
วิธีทำหัวเชื้อน้ำซุป Low sodium ผสมน้ำได้ถึง 3 เท่า ประหยัดต้นทุนสุด ๆ
ซอสผัดฉ่า วิธีทำสำหรับคนทำร้านอาหาร เข้มข้นถึงเครื่อง คุมต้นทุนง่าย เก็บได้นาน
เคล็ดลับการทำแกงเขียวหวาน พร้อมเทคนิคเตรียมน้ำแกงกึ่งสำเร็จรูป
สูตรซอสผัดอเนกประสงค์ ใช้ได้ครอบจักรวาล พร้อมวิธีการคำนวณต้นทุน