เทคนิคกำจัดขยะร้านอาหาร ลด Waste ในครัวอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวิธีการแยกขยะอย่างถูกต้อง
ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มทั่วไปมักเลือกจัดการและกำจัดขยะในช่วงปิดร้าน ทำให้มีขยะ หรือสิ่งเหลือใช้อยู่ในร้านนานหลายชั่วโมง ยิ่งร้านอาหารที่เปิดตั้งแต่ปิดค่ำ เศษอาหารหรือขยะต่าง ๆ จะยิ่งหมกหมมมากขึ้น
ซึ่งอาจทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ และทำให้มีแมลงหรือสัตว์อย่างแมลงวัน หนู เข้ามารบกวนในร้าน ซึ่งกระทบต่อสุขอนามัย ความปลอดภัย และภาพลักษณ์ของร้านได้
การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างวัน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยจัดการปัญหาขยะตกค้างได้เป็นอย่างดี เทคนิคกำจัดขยะร้านอาหาร ทำได้ด้วยวิธีง่าย ๆ นี้เลย
แยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
เป็นสิ่งแรกที่ร้านอาหารควรทำ เพื่อช่วยให้สามารถจัดการกับขยะได้ง่ายและเหมาะสมกว่าการทิ้งขยะทั้งหมดในถัง เพราะขยะร้านอาหารมีทั้งของสด พลาสติก กระดาษ แก้ว และขยะเหลือใช้ต่าง ๆ การแยกขยะช่วยให้เรารู้ว่ามีขยะอะไรบ้างที่ควรจำกัดระหว่างวัน หรือขยะส่วนใดจัดการเมื่อร้านปิดได้
อีกทั้งยังง่ายต่อการกำจัดขยะของหน่วยงานที่รับผิดชอบและช่วยลดปริมาณขยะ ซึ่งเป็นวิถีรักษ์โลกอีกแบบหนึ่งด้วย ขยะในร้านอาหารประกอบด้วย
ขยะอินทรีย์
หรือของสด เช่นเศษอาหาร เศษผัก เปลือกผักผลไม้ เนื้อสัตว์ ควรจัดการทุก ๆ 1- 4 ชั่วโมง อาแบ่งเป็นหลังรอบลูกค้า หลังการเตรียมอาหาร หรือวันไหนคนเยอะอาจจัดการทันทีเมื่อขยะเต็ม และช่วงปิดครัวหลังเก็บร้านอีก 1 ครั้ง
ทั้งนี้สามารถเลือกใช้เครื่องบดเศษอาหาร (Food Waste Disposer) เพื่อบดเศษอาหารให้ละเอียดก่อนปล่อยลงท่อระบายน้ำ และเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ (Food Waste Decomposer / Composter)
ในการเปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้เป็นปุ๋ยแบบรวดเร็วใน 24–48 ชม.หรือปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาตินานประมาณ 7–14 วัน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะทิ้งได้มากถึง 80 % ทีเดียว สำหรับน้ำมันพืชใช้แล้วสามารถรวบรวมไว้เพื่อขายในราคารับซื้อ 12-20บาท/ลิตรทีเดียว
ขยะรีไซเคิล
ได้แก่ ขวดน้ำดื่ม กระป๋อง กล่องกระดาษ ฝาขวด พลาสติกบางชนิด ควรแยกถังขยะเฉพาะ เก็บทิ้งทุกครั้งหลังปิดร้าน ระหว่างวันอาจทิ้งรวมไว้ก่อน แล้วค่อยมาแยกประเภทขยะอีกครั้งเมื่อปิดร้าน ขยะประเภทนี้มีมูลค่าซ่อนอยู่ นำไปขายให้กับร้านรับซื้อขยะรีไซเคิลได้
อย่างขวดน้ำพลาสติก มีราคา 3-6 บาท/กก. แก้วพลาสติกใส่ชาหรือกาแฟ ราคา 2-4 บาท/กก. กล่องกระดาษ ราคา 2 – 5 บาท/กก. กระป๋องน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ ราคา 40-60 บาท/กก. ขวดแก้วราคา 50สตางค์ – 1 บาท/กก.
ขยะทั่วไป
เช่น พลาสติกปนเปื้อน ซองขนม พลาสติกแร๊ปอาหาร ควรแยกทิ้งอีกต่างหาก สามารถจัดการหลังปิดร้านได้
ใช้ถังขยะที่เหมาะสม
สำหรับร้านอาหารควรเลือกใช้ถังขยะมีฝาปิดเพื่อป้องกันกลิ่นและแมลง อาจแยกสีหรือติดป้ายระบุประเภทขยะให้ชัดเจน หากเป็นขยะในครัวควรมีหลายจุด และเปลี่ยนถุงทันทีเมื่อเต็ม
กำหนดเวลาเก็บขยะระหว่างวันให้ชัดเจน
โดยแบ่งเวลาเก็บขยะ ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หลังรอบเสิร์ฟ หรือหลังเตรียมอาหารเสร็จ
ฝึกอบรมพนักงาน
ให้รู้จักวิธีแยกขยะ ทำป้ายบอกขั้นตอนให้ชัดเจนและแปะในจุดที่อ่านสะดวก อาจมีการกำหนดกฎระเบียบ การตรวจประเมิน กำหนดคนที่รับผิดชอบตรวจสอบจุดทิ้งขยะเป็นระยะ รวมถึงอาจให้คะแนนพิเศษสำหรับพนักงานที่ใส่ใจเรื่องการกำจัดขยะเพื่อกระตุ้นให้ปฏิบัติจริง
ติดต่อหน่วยงานจัดการขยะท้องถิ่น
และบริษัทรับซื้อขยะไว้ล่วงหน้า เพื่อตรวจสอบรอบการเก็บขยะ และจุดรับขยะเพื่อให้ง่ายต่อการวางแผนของร้าน
อย่างไรก็ตามในช่วงแรกของการปรับระบบการจัดการขยะอาจยังไม่คล่องตัวนัก ค่อย ๆ หาจุดที่เหมาะสมสำหรับร้าน พนักงาน และลูกค้า เชื่อว่าขยะจากร้านอาหารจะกลายเป็นเรื่องจิ๋ว ๆ ไปเลยค่ะ
หวังว่าบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการและคนที่อยากเปิดร้านอาหารทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- Food Rotation Labels อุปกรณ์ที่ครัวโรงแรมและร้านอาหารเชนใหญ่ ๆ มักใช้ในการช่วยการบริหารจัดการวัตถุดิบ
- FIFO vs FEFO ทั้ง 2 อย่างนี้ต่างกันยังไง? เลือกใช้งานยังไง?
- Portion Control ทำยังไง ได้บ้าง? 3 ขั้นตอนเริ่มต้นง่าย ๆ สำหรับคนทำร้านอาหาร
- สต๊อกวัตถุดิบ ก็นับออกจะบ่อย ทำไมยังมีปัญหาเรื่องสต๊อกอยู่? เราพลาดตรงไหนกันแน่
- มาตรฐานสูตรอาหาร (Standard Recipes) คืออะไร ทำไมร้านอาหารทุกร้านถึงควรทำ
- ทำไมทำร้านอาหารถึงต้องมีเขียงหลายสี? มีประโยชน์อย่างไร
- Portion Spoons อุปกรณ์สำคัญที่ร้านอาหารยุคใหม่ต้องมี
- 3 ไอเดีย เปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นศูนย์ สำหรับร้านอาหาร
- วิธีดูวันหมดอายุของซอส เรียนรู้เรื่อง Shelf Life สำหรับธุรกิจร้านอาหาร
- เคล็ดลับ นับสต๊อกร้านอาหาร และจัดการวัตถุดิบ ทำเป็นเห็นกำไร