ChatGPT สำหรับร้านอาหาร ปั้น ChatGPT ยังไงให้ “พูดเป็น” สื่อสารตรงใจลูกค้า กับ 5 เทคนิคสำหรับคนทำร้านอาหาร
ในการใช้ AI หลายคนกลับ “ไม่ได้ป้อนบริบท” ที่ถูกต้องให้กับ AI ซึ่งผลลัพธ์คือโพสต์ออกมาเหมือนพูดกับใครก็ไม่รู้ หรือ Copy ที่เจนออกมาก็ดูสวยดีแหละแต่ไม่ได้ใจ ทำ CTA ก็ดูแพงไปไม่เข้าเป้า และนั่นทำให้เราคิดว่า AI ก็ไม่ได้เก่งขนาดนั้นหรอก
แต่ AI เองก็เหมือนกับเรานี่แหละครับ ถ้าเราไม่เคยแนะนำลูกค้าของเราให้ AI ได้ทำความรู้จักก่อนมันก็ไม่มีทางที่จะสร้างแผนการตลาดที่ใช้แล้วโดนกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ ให้เราได้หรอก
วันนี้มี 5 เทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถปั้น ChatGPT ให้กลายเป็นทีมการตลาดที่พูดกับลูกค้าได้ “แบบรู้ใจ” มาฝากครับ มีอะไรบ้างไปดูกันเลย
1. สร้าง “Customer Persona” ให้ AI รู้จักลูกค้า
ก่อนสั่ง AI ให้ทำอะไร ลองใส่ข้อมูลพวกนี้ให้มันก่อน เพื่อให้มันรู้จักลูกค้าของเรา ตัวอย่างเช่น
– เพศ / อายุ / อาชีพ
– พฤติกรรม (ซื้อบ่อยไหม? สนใจอะไร?)
– ปัญหาที่เจอบ่อย + ความคาดหวัง
– คำพูดหรือคำถามที่ลูกค้ามักใช้
ตัวอย่างเช่น “คุณกำลังเขียนโพสต์ขายสินค้า X สำหรับผู้หญิงวัย 35 ปี ทำงานออฟฟิศ ชอบดูแลตัวเอง แต่มีเวลาน้อย…”
2. ใส่ “จุดขายหลัก” (USP) ให้ชัด อย่าให้ AI เดาเอง
เราต้องเคลียร์ตัวเองก่อนว่าอย่าคาดหวังว่า AI จะรู้ว่าสินค้าเราดียังไง เพราะถ้าเราไม่บอกมันก็ไม่รู้ ดังนั้นให้ใส่ไปเลย เล่าไปเลย ประมาณว่า USP ของเราคืออะไร เราใช้นวัตกรรมอะไร เราเด่นด้านไหน เราต่างจากคู่แข่งยังไง ลูกค้าชอบพูดถึงอะไร
ตัวอย่างเช่น “ช่วยเขียนโพสต์โปรโมตขนม XXX จุดเด่นคือเราใช้วัตถุดิบจาก XXX คุณภาพดีมาก ๆ แล้วยังไม่มีเจ้าไหนเคยทำมาก่อน มีบริการส่งฟรีด้วย ”เป็นต้น
3. ปรับ “โทนเสียง” ให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย
พูดกับวัยรุ่นต้องสนุก พูดกับสาวออฟฟิศต้องมั่นใจ พูดกับแม่บ้านต้องอบอุ่น ทุกกลุ่มมีโทนเสียงโทนการเล่าที่แต่กต่างกัน บอก AI ไปชัดๆ ตัวอย่างเช่น
“ให้ใช้โทนเสียงเป็นกันเอง แบบเพื่อนให้คำแนะนำ”
“ใช้คำพูดง่าย ๆ แต่ฟังดูน่าเชื่อถือ”
และอย่าลืมระบุคำที่ควรใช้/ไม่ควรใช้ เช่น หลีกเลี่ยงคำว่า “ของถูก” เปลี่ยนเป็น “คุ้มค่า” เป็นต้น
4. ใส่ แพลตฟอร์ม ที่จะลงด้วย
อันนี้สำคัญมาก แต่ละแพลตฟอร์มมีวิธีการเล่าที่แตกต่างกัน บางแพลตฟอร์มต้องสั้นสุด ๆ บางแฟลตฟอร์มคนชอบอ่านยาว ๆ บางแพลตฟอร์มคนดูแต่รู้แต่แคปชั่นจะเป็นตัวทำให้คนสนใจ นี่เป็นสิ่งที่เราต้องกำหนดให้ AI ด้วยว่าเราจะเอาโพสต์นี้ไปลงที่ไหน ตัวอย่างเช่น
“โพสต์ Facebook ยาว 3 ย่อหน้า”
“สคริปต์ TikTok 45 วินาที”
“แคปชั่น Instagram พร้อม Hashtag”
เพราะยิ่งกำหนดชัดเราก็ยิ่งได้คอนเทนต์ที่ “ใช่” สำหรับช่องทางนั้นๆ
5. ให้ “Context” ไม่ใช่แค่คำสั่ง
อย่าแค่บอกว่าเราจะ “เขียนโพสต์ขายเมนูนี้” แต่ควรบอกบริบทให้มันครบด้วย ตัวอย่างเช่น
– เป็นช่วงเปิดตัว
– ต้องการเร่งยอดขาย
– เพิ่งเปลี่ยนแพ็กเกจ
– มีโปรเฉพาะกลุ่มที่เคยซื้อ
Prompt หรือคำสั่งที่ดีควรเริ่มจาก “สถานการณ์” ก่อนเสมอ
สรุปก็คืออย่าปล่อยให้ AI เดาค่ะ เราต้องเป็นคนให้ข้อมูลและใส่บริบทให้ถูก มันจะกลายเป็นนักการตลาดคู่ใจของเราที่ทำให้เราทำงานเร็วขึ้นเยอะเลย
หวังว่า ChatGPT สำหรับร้านอาหาร ที่นำมาฝากกันในวันนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการและคนที่อยากเปิดร้านอาหารทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทางด้วยนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- เทคนิคสร้าง Storytelling ร้านอาหาร ฉบับคนตัวเล็ก
- ปั้นโปรยังไงให้โดนใจลูกค้า 5 หลักพื้นฐานในการทำ Sale Promotion
- ลดทั้งร้าน ลดล้างสต็อก! ลดราคากันถล่มทลายขนาดนี้ การ Sale บ่อยๆ ธุรกิจได้อะไรบ้าง?
- เล่าเรื่องบน TikTok ให้เวิร์ก ถอดสูตรมืออาชีพ หลัก ๆ เขาทำกันยังไง
- ลูกค้าเปลี่ยนไป ตลอดเวลา? 12 สิ่งที่ลูกค้าจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง แม้โลกจะเปลี่ยนไปก็ตาม
- เทรนด์การตลาดร้านอาหาร ปี 2025 ลูกค้าเปลี่ยน การตลาดก็เปลี่ยนเหมือนกัน มาอัปเดตก่อนลุยต่อในปีนี้กัน