เขียง บาย ตำมั่ว ถอดวิธีขยายแฟรนไชส์แบบ ‘เขียง’ ร้านอาหารที่คว้ารางวัล Franchise Shining Star และอยู่ภายใต้การบริการของ Zen Group
‘เขียง บาย ตำมั่ว’ ร้านอาหารตามสั่งภายใต้การบริหารของ Zen Group ที่สามารถขยายกว่า 100 สาขา การันตีความสำเร็จด้วยรางวัล Franchise Shining Star 2021 และกว่า 80% ของจำนวนสาขามาจากการขายแฟรนไชส์
ความน่าสนใจคือนอกจากการขยายสาขาในไทยและมาเลเซีย ไม่นานมานี้ ‘เขียง’ ยังบุกไปถึงโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ต่อด้วยแผนเปิดสาขาในฮ่องกง สิงคโปร์ และจีน ความสำเร็จเหล่านี้พิสูจน์แล้วว่า ‘เขียง บาย ตำมั่ว’ ภายใต้การบริหาร และวางระบบโดย Zen Group มีระบบและความพร้อมต่อการเติบโตสู่ 1,000 สาขา ตามที่ตั้งเป้าไว้
คนทำร้านอาหารจะรู้ดีว่าการขยายสาขา หรือต่อให้เป็นการขยายด้วยแฟรนไชส์ก็ตาม จำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้น ย่อมตามมาด้วยปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น
บทความนี้จึงขอพาทุกคนไปถอดวิธีขยายแฟรนไชส์แบบ ‘เขียง’ สิ่งที่พวกเขาทำจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
1. วางระบบการทำงานของพนักงาน
‘เขียง’ ทำระบบการทำงานของพนักงานเหมือนกันทุกร้าน เมื่อการวางระบบการทำงานของพนักงานประสบความสำเร็จในสาขาแรก สาขาต่อ ๆ มา ก็เป็นการก๊อปวางความสำเร็จจากสาขาต้นแบบ แม้จะมีการปรับเปลี่ยนทำเล และพฤติกรรมของลูกค้า แต่เหล่านี้เป็นเรื่องของกลยุทธ์ และการตลาดที่ต้องปรับ
2. ลดกระบวนการทำงานของพนักงานในครัวให้น้อยที่สุดเพื่อควบคุมคุณภาพ
ขั้นตอนการปรุงที่ซับซ้อน ย่อมตามมาด้วยการควบคุมคุณภาพของรสชาติที่ยาก นำไปสู่รสชาติที่ไม่คงที่ ฉะนั้น ‘เขียง’ จึงใช้วิธีทำซอสสำเร็จ เพื่อลดขั้นตอน และความซับซ้อนของเมนูอาหารให้น้อยที่สุด จนแม้แต่พนักงานที่ไม่มีประสบการณ์ก็สามารถทำตามได้
3. ทำแบรนด์ให้ซื้อง่ายขายง่าย
ทั้งการย่อขนาดร้านให้เล็กลงเพื่อเข้ากับทำเลที่สามารถขายแบบ Take away หรือการเพิ่มช่องทางการขายด้วย Delivery ควบคู่กับการลงทุนในการทำการตลาดออนไลน์ เหล่านี้ล้วนมีเป้าหมายให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในความสนใจของลูกค้า นำไปสู่การตัดสินใจซื้อที่ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องรอมาทานเฉพาะในวันพิเศษ หรือโอกาสพิเศษ
4. สร้างแบรนด์ให้แข็งแรงและกลุ่มลูกค้าที่ชัด
แบรนด์ที่แข็งแรงเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า และความเชื่อมั่นของลูกค้ามีผลต่อการขยายสาขา ที่สำคัญคือการสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงยังมาพร้อมกับโอกาสในการเติบโตจากการทำคอลแลป รวมถึงความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ที่มาจากคู่ค้า
5. พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ธุรกิจไม่มีคำว่าทำครั้งเดียวแต่จำเป็นต้องพัฒนาเพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เราตกขบวน และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ไม่หยุดนิ่ง ฉะนั้น Zen Group จึงให้ความสำคัญกับการรีเสิร์ช และพัฒนาอาหาร การตลาด และการโอเปอเรชันอย่างต่อเนื่อง
“ถึงแม้ว่าเราจะมีแบรนด์ที่แข็งแรง มีอาหารที่ดี แต่ถ้าหากการจัดการไม่ดีก็ไม่สามารถขยายสาขาออกไปได้ ” – คุณเบส ศิรุวัฒน์ ชัชวาลย์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ “ตำมั่ว”
การที่ เขียง สามารถประสบความสำเร็จสามารถขยายสาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว ไม่ใช่แค่การทําการตลาดหรือการคิดเมนูที่รสชาติอร่อยหรือมีเอกลักษณ์เพียงอย่างเดียว แต่คือการรักษามาตรฐานให้เท่ากันในทุก ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารหรืองานบริการ
หวังว่าบทความที่นำมาฝากกันในวันนี้จะเป็นประโยชน์และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประการทุกท่านนะคะ ฝากติดตาม Torpenguin ในทุก ๆ ช่องทาง แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าค่ะ 😊
ติดตามข่าวสารธุรกิจร้านอาหาร
Facebook : Torpenguin
Instargram : torpenguin
TikTok : torpenguin
Youtube : Torpenguin
อ่านบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อ
- ทำยังไงให้ลูกค้ากลับมา 10 ครั้งต่อเดือน? เปิดเคล็ดลับปั้น CRM ของแบรนด์ The Coffee Club และ บ้านส้มตำ
- จากพัทยา สู่ กทม. ถอดบทเรียน After Yum ร้านยำที่ไม่เคยหยุดพัฒนา
- Eat Am Are ร้านสเต๊ก 15 สาขาที่รายได้แซงทุกเชนใหญ่
- Nose Tea จากแบรนด์สกินแคร์สู่จุดเริ่มต้นชาชีส ปั้นแบรนด์ยังไงให้ลูกค้าต่อแถวซื้อ
- Digiro โมเดลสายพานดิจิตอลรูปแบบใหม่ของ Sushiro ที่คิดมาเพื่อรับมือพวกเล่นพิเรนทร์
- ยามาซากิ ร้านขนมปังที่โฆษณาไม่ค่อยมี แต่ยังขายดีอยู่ตลอด 39 ปี
- สูตรลับโตพันล้านฉบับ After You 5 สิ่งที่ให้ After You กลายเป็นร้านขนมที่มีนามสกุลมหาชนอย่างทุกวันนี้
- Power of Detail ความสำเร็จ วัดกันที่รายละเอียด ถอดไอเดียจาก สุกี้ตี๋น้อย และ Karun
- ถอดเบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจ เก่าแก่กว่าพันปีในญี่ปุ่น คนทำธุรกิจได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
- ชนยักษ์ใหญ่ในแบบ Jollibee แบรนด์ไก่ทอดจากฟิลิปปินส์ ที่เอาจุดแข็งและจุดอ่อนของ McDonald’s มาสร้างร้านของตัวเอง